แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้

 

         การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด บทบาทของครู คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามมาตรฐานของหลักสูตร บทบาทของนักเรียนเป็นผู้แสวงหา และเรียนรู้ด้วยการคิด การปฏิบัติอย่างแท้จริงให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการสอน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพในการคิดเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์การเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน

          ความหมายของสื่อการสอน
          กิตานันท์   มลิทอง อ้างถึงใน อรนุช ลิมตศิริ(2543หน้า 79) สื่อการเรียนรู้ (Media for learning) มาจาภาษาลาตินว่า “Medium” แปลว่าระหว่าง (between) หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับการสื่อสารกันได้ ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนจึงเรียกสื่อการสอน (Instructional Media) หมายถึงสื่อชนิดใดก็ตาม เช่น เทปบันทึกเสียง ภาพนิ่ง แผนภูมิ หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ สไลด์ เป็นต้น ที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำเอามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา เป็นเครื่องมือที่ผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมาย ที่วางไว้เป็นอย่างดี

          ความหมายของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
          นิคม ทาแดง (2527,หน้า 78-80) สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หมายถึง สิ่งต่างๆทั้งทางกายภาพ และจิตภาพ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหาที่เป็นความรู้ กระบวนการวิทยาศาสตร์ และเจคติทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ของจริงและสัญลักษณ์เป็นต้น นอกจากนั้นสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ที่นำมาใช้ ควรจัดให้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และจัดระบบให้มีประสิทธิภาพตามประเภทของสื่อนั้นๆ

 

ความสำคัญของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

ประเภทของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

หลักการเลือกสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

หลักการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์

การประเมินสื่อการสอนวิทยาศาสตร์

หน้าหลักงานวิจัย

 

          วิไลวรรณ  แสนพาน (2553, หน้า 271 – 273) สื่อการสอนเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางการคิดได้แก่ การคิดไตร่ตรอง การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมให้แก่ผู้เรียน สื่อการสอนปัจจุบัน มีอิทธิพลสูงต่อการกระตุ้นให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองสื่อมีมากมายและหลากหลายรูปแบบมีบทบาทและให้คุณประโยชน์ต่างๆเช่น

            1.   ช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจความคิดรวบยอดได้ง่าย รวดเร็วขึ้น
            2.   ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็น กระบวนการ
            3.   ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
            4.   สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ และ ทำให้อยากรู้อยากเห็น
            5.   ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน
            6.   เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกันให้ เรียนรู้ได้เท่าเทียมกัน
            7.   ช่วยให้ผู้เรียนบูรณาการสาระการเรียนรู้ต่างๆให้เชื่อมโยงกัน
            8.   ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้สื่อและแหล่งข้อมูลต่างๆเพื่อการค้นคว้า เพิ่มเติม
            9.   ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้หลายมิติ จากสื่อที่หลากหลาย
           10.   เชื่อมโยงโลกที่อยู่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน


           สื่อการสอนต่างๆ นอกจากมีบทบาทเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้วยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านต่างๆเช่น
           1.   ความรู้ สื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้เชิงเนื้อหา ความรู้เชิงกระบวนการและความรู้เชิงประจักษ์ จากการเรียนรู้ในกลุ่มวิชาต่างๆส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมพัฒนาความอยากรู้อยากเห็นเชิงสร้างสรรค์ ส่งเสริมการค้นหาและการเชื่อมโยงสาระที่ได้เรียนรู้ระหว่างวิชาต่างๆเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวหรือกิจกรรมปฏิบัติในครอบครัวโรงเรียนชุมชนและสังคมในวงกว้าง
            2.   ทักษะ สื่อการสอนในกลุ่มวิชาต่างๆช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านต่างๆให้แก่ผู้เรียนได้แก่ ทักษะพื้นฐานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะการจัดการ ทักษะในงานอาชีพ เป็นต้น
            3.   คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม สื่อต่างๆนอกจากจะให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะแล้วยังมุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ เห็นคุณค่าในตนเอง ภูมิใจในความเป็นไทย มีจิตสำนึกทางสังคมแล้สิ่งแวดล้อมรู้จักใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ยอมรับค่านิยมที่ดีงาม

          

 

 

อ้างอิงจาก

อรนุช  ลิมตศิริ.(2543). นวัตกรรม และเทคโนโลยีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์.
            กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิคม  ทาแดง. เอกสารการสอนชุดวิชา การสอนวิทยาศาสตร์หน่วยที่ 8-15.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มปท.

วิไลวรรณ  แสนพาน.(2553).สาระการเรียนรู้และการออกแบบกระบวนการจัดการ
เรียนรู้วิทยาศาสตร์.
กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.